วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาเรื้อรังการใช้ไฟผ่าหมาก หรือ ไฟฉุกเฉิน อย่างไม่จำเป็น

พฤติกรรมการขับรถของคนไทยที่แก้ไม่หาย เสพติด "ไฟผ่าหมาก" ใครเขาใช้กันถ้าไม่ฉุกเฉิน!!

'ไฟผ่าหมาก' คำเรียกแบบสนิทสนมของ 'ไฟฉุกเฉิน' อันเป็นชื่อจริงๆ ตามหลักสากลที่ถูกต้อง แต่มันมีอิทธิพลต่อความหมายและความเชื่อแบบผิดชนิดอันตรายของใครก็ตามที่ไม่ทันได้รู้ความเป็นมาเป็นไปแต่ปางก่อน...

กาลครั้งหนึ่งนานหรือเปล่าก็ไม่รู้ ลักษณะของไฟสีส้มๆ ตามความรู้สึกชาวบ้าน นอกจากมันทำให้ใครหลายคนงงเป็นมือใหม่ตาแตกกับคำตอบของข้อสอบกรมขนส่งอันงงงวยว่าสีของไฟเลี้ยวรถเนี่ยมันคือสีอะไร...คำตอบที่ถูกต้องคือ เหลืองอำพัน !! ซึ่งมองยังไงสีมันก็เหมือนสีส้มของเปลือกส้มไม่ผิดเพี้ยน และก็ไม่เคยได้ยินใครสั่งส้มเหลืองอำพัน 2 กิโลฯ กลับบ้านเสียที ให้ดิ้นตายเหอะ


ตำแหน่งโดยสามัญสำนึกของไฟเหลืองอำพันจะถูกติดตั้งอยู่ขนาบข้างซ้าย-ขวาของยานพาหนะทุกๆ ประเภท ถ้าผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนเลนไปทางไหนก็จะต้องจัดการเปิดไฟเลี้ยวข้างนั้น ซึ่งมันจะมีลักษณะกะพริบเป็นนิสัยส่วนตัวต่างจากไฟดวงอื่นๆ ยกเว้นคนบางจำพวกที่ดันยัดนิสัยผิดๆ ด้วยการสั่งให้ไฟเบรกดันกะพริบไปกับเขาด้วย



แต่เมื่อใดก็ตามที่ไฟเหลืองอำพัน เอ่อ...ยาวเกิ๊น ต่อไปขอเรียกแบบบ้านๆ ว่า 'ไฟเลี้ยว' ก็แล้วกัน ถ้าเมื่อใดไฟเลี้ยวทั้งซ้าย-ขวากะพริบขึ้นพร้อมกัน ให้พึงระลึกไว้ว่ามันไม่ใช่สัญญาณไฟผ่าหมาก ที่หมายถึงว่า 'ขอทางวิ่งตรง' อย่างที่เข้าใจ

ไฟฉุกเฉินมีไว้ 'เตือน' ไม่ใช่มีไว้ 'ขอ'

เพราะความเชื่อที่ผิดๆ ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นของวัฒธรรมไทยๆ ทำให้ทุกวันนี้เรายังเห็นผู้ขับขี่ที่อยากวิ่งตรงไป นิยมเปิดไฟฉุกเฉินด้วยความเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่ามันคือไฟขอทาง!! ความอันตรายของการเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อวิ่งตรงนั้นคือ จะทำให้รถที่ออกจากแยกหรือตรอกซอกซอย คิดว่ารถคันนั้นกำลังจะเลี้ยว เพราะเขาไม่ได้มีญาณทิพย์ที่จะไปมองเห็น ว่าไฟเลี้ยวอีกข้างมันก็ติดอยู่เหมือนกัน


ฝนตกหนักไม่ต้องใช้ จำไว้ให้ดี

การเปิดไฟฉุกเฉินในขณะฝนตกหนักเช่นกัน เรามักพบคนขับรถหน้ามึนไม่น้อย เป็นพวกลัทธินิยมไฟฉุกเฉินไม่ว่าจะเกิดอะไร ฉันขอเปิดไว้ก่อน ด้วยความเชื่อว่ามันช่วยให้รอดปลอดภัยจากทุกภยันตรายได้โดยไม่ต้องกราบไว้ แค่เอานิ้วน้อยๆ ไปจิ้มตรงสัญลักษณ์สามเหลี่ยมเป็นอันเสร็จพิธี แต่รู้หรือไม่มันอันตรายยิ่งกว่าเล่นคุณไสยอีกนะ เพราะรถที่วิ่งขนาบข้างไม่สามารถรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้วมันเป็นไฟฉุกเฉิน ไม่ใช่ไฟเลี้ยวธรรมดาๆ


ความหมายตามมาตรฐานสากล

ซึ่งตามหลักชาวสากลโลก จะเข้าใจความหมายไปในทางเดียวกันสำหรับสัญญาณไฟฉุกเฉิน คือแสดงว่ารถคันนั้นกำลังจอดเสียอยู่ ไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ผู้ขับขี่อื่นจะสามารถรับรู้ได้อย่างทันทีว่ารถคันนี้กำลังจอดแน่นิ่งไม่ไหวติง พึงต้องลดแรงกระแทกคันเร่งและต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ


เบรกกะทันหัน ใช้เตือนอย่างเฉียบพลัน

ในกรณีต่อมา คือเมื่อเกิดการเบรกอย่างกะทันหันชนิดปัจจุบันทันด่วน การกะพริบสัญญาณไฟฉุกเฉิน เป็นการเตือนรถคันหลังว่า รถเรากำลังเบรกอย่างเต็มที่ คุณก็เบรกเต็มที่ได้เลย อย่าแค่ชะลอความเร็ว ซึ่งรถหลายๆ รุ่นในปัจจุบันนี้ก็ใส่ระบบนี้มาให้พร้อมสรรพ ไฟฉุกเฉินจะติดเองทันทีเมื่อมันรู้ว่ากำลังอยู่ในภาวะเบรกอย่างคับขัน

คราวนี้หวังว่าเมื่อได้รับรู้โดยพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็คงจะเข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น อย่างน้อยใช้สัญญาณต่างๆ ให้ถูกวิธีเพื่อลดความปวดเศียรเวียนหัวให้กับเพื่อนร่วมทางได้สักนิดก็ยังดี การขับขี่จะได้มีแต่รอยยิ้มและปลอดภัยกันทุกคนประชาชนชาวไทย...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ

ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ
ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ ซื้อออนไลน์ สะดวก ลดพิเศษ จัดส่งฟรีทั่วไทย

บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า

บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า
ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3+ และชั้น 3 รับฟรี บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า เช่น ล้างรถ เคลือบสี ที่พัก ในราคาพิเศษสุด พร้อมกิจกรรมแจกรางวัล

โพสต์แนะนำ

ประกันภัยรถบิ๊กไบค์ ประกันภัยBigBike ประกันมอเตอร์ไซต์ทั่วไป

ประกันรถมอเตอร์ไซต์บิ๊กไบค์ BigBike เอาใจขาซิ่ง  Big Bike ! สิ่งที่เราสัญญากับคุณ ง่ายและรวดเร็ว     ราคาที่คุ้มค่า    ประหยัดเ...

ช่องทางชำระเงินค่าประกันภัย

ช่องทางชำระเงินค่าประกันภัย
ชำระเงินประกันสะดวกสบาย ปลอดภัย ผ่านบัตรเครดิต บัตรvisa โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ชำระผ่านบัญชี Paypal LINE Pay หรือ บริการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต

ตัวอย่างความพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการของเรา