วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 ราคาเริ่มต้นเพียง 1,570 บาท ซื้อออนไลน์ถูกสุดๆอุ่นใจทุกการขับขี่

ประกันภัยรถยนต์ ชั้น3 

🚘🚘🚘🚘🚘🚘🚘🚘


    ประกันภัยชั้น 3  เป็นประกันภัยภาคสมัครใจที่เหมาะสมสำหรับรถยนต์ทุกประเภท ซึ่งให้ความคุ้มครองต่อตัวรถยนต์และทรัพย์สินคู่กรณีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ และผู้ทำประกันสามารถเลือกวงเงินความคุ้มครองบุคคลภายในรถเพิ่มเติมได้ตามต้องการ อัตราเบี้ยสำหรับประกันภัยขึ้นอยู่กับความคุ้มครองหลักที่คุ้มครองฝ่ายคู่กรณี และความคุ่มครองเพิ่มเติมที่ผู้ทำประกันต้องการ ดังนี้นผู้ที่ต้องการทำประกันภัยประเภทนี้ควรศึกษาเงื่อนไข ความคุ้มครองหลัก และความคุ้มครองเพิ่มเติมต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ความคุ้มครองตามที่ต้องการ

สั่งซื้อออนไลน์วันนี้ ไม่ต้องส่งเอกสารเพิ่มเติม รับส่วนลดพิเศษ จัดส่งฟรี!

ประเภทรถ




ขอแนะนำ แพกเกจใหม่ จากเอเชียประกันภัย

 ประกันชั้น 3 กันชน

กรมธรรม์ประเภท 3 ควบ "กันชน" ของเอเชียประกันภัย คุ้มครองมากกว่าประกันชั้น 3 ปกติ คือ กรณีถูกรถคู่กรณีไม่มีประกันภัยเฉี่ยวชน วงเงินซ่อมสูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง โดยท่านต้องเป็นฝ่ายถูก 


 เบี้ยประกันภัยต่อปี 3,333 บาท ซื้อออนไลน์กับ Prakunrod.com ตอนนี้ ลดเหลือ 2,900  บาท  ประหยัดถึง 433 บาท อย่ารอช้าสั่งซื้อออนไลน์ได้เลย!!!

สั่งซื้อออนไลน์ได้จาก link ด้านล่าง




ประกันภัยรถยนต์

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประกันความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ Medical malpractice liability

ประกันอาชีพแพทย์ ถูกสุดๆ,ประกันภัยความรับผิดวิชาชีพแพทย์,ประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์ จาก วิริยะประกันภัย ,การประกันความรับผิดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ในประเทศไทย,ประกันความรับผิดทางการแพทย์ จาก กรุงเทพประกันภัย,การประกันวิชาชีพแพทย์




แพกเกจประกันความรับผิดวิชาชีพแพทย์ แต่ละสาขาความ

เชี่ยวชาญ  คลิก เพื่อดูรายละเอียดเเพกเกจ 


ประกันภัยด้านความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์


แพทย์เป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการรักษา ความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ เกิดได้กับมนุษย์ทุกคนและการทำงานในทุกสาขาอาชีพ แม้จะเป็นความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลกระทบที่ไม่คาดคิด หากแพทย์ให้การรักษาและเกิดความผิดพลาดดังกล่าวขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยหรือญาติไม่พอใจและเรียกร้องค่าเสียหาย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ หรือต่อชีวิต ซึ่งแพทย์จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ย่อมส่งผลกระทบต่อแพทย์ในหลายด้าน ดังนั้นการประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์จะเข้ามาช่วยเป็นเพื่อนคู่คิด และแบ่งเบาภาระที่จะตามมา เพื่อความอุ่นใจในวิชาชีพทุกครั้งที่เกิดปัญหา

แนวโน้มในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เปลี่ยนจาก Doctor-patien relationship สู่พ่อค้ากับลูกค้า Provider-client relationships ยิ่งค่ารักษาแพงขึ้น ยิ่งส่งผลให้ความคาดหวังในผลการรักษาสูงขึ้น และเมื่อมีความผิดพลาดในการประกอบเวชกรรม วงเงินเรียกร้องที่แพทย์จะต้องชดใช้สูงขึ้นด้วย 

ประกันผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ จะเข้ามาช่วยบรรเทาความรับผิดทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น 2 ด้านหลักๆ คือ 
1. คุ้มครองการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เอาประกันภัย (โปรดศึกษา Claims made basis เพิ่มเติม) 
2. ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี 

Medical Malpractice liability สามารถซื้อประกันนี้ได้จาก บริษัทประกันวินาศภัยที่จำหน่าย เช่น วิริยะประกันภัย กรุงเทพประกันภัย เป็นต้น 


Retroactive date คืออะไร สำคัญอย่างไร


Retroactive date คืออะไร
กรมธรรม์ประเภท claims made type มักจะใช้กับ การประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ เช่น แพทย์ เป็นต้น ซึ่งกรมธรรม์ประเภทนี้นอกจากจะมี วันเริ่มและสิ้นสุดความคุ้มครองแล้ว ยังอาจระบุวันที่เริ่มคุ้มครองย้อนหลังหรือ Retroactive date ไว้ โดยส่วนมากจะเป็นวันที่เริ่มต้นเอาประกันในปีแรก

ตัวอย่าง 
นายแพทย์ ก ทำประกัน Medical malpractice policy กับบริษัทรับประกัน A ไว้ ซึ่งเป็นกรมธรรม์ประเภท Claims made basis โดยเริ่มเอาประกัน 1 มกราคม 2557 สิ้นสุด 1 มกราคม 2558 และมีการต่ออายุต่อเนื่องอีกในปีที่ 2 กรมธรรม์ในปีที่ 2 ก็จะหมดอายุวันที่ 1 มกราคม 2559 โดยมี Retroactive date เป็นวันที่ 1 มกราคม 2557 (วันแรกที่เริ่มเอาประกันของกรมธรรม์ปีแรก)

Retroactive date สำคัญอย่างไร
จากตัวอย่างข้างต้น ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประเภท Claims made type บริษัทรับประกัน A จะคุ้มครองเฉพาะความผิดพลาดของแพทย์ที่

1. เกิดหรือกระทำในระยะเวลาระหว่าง Retroactive date จนถึงวันสิ้นสุดความคุ้มครองของกรมธรรม์ปัจจุบัน (Retro date 1 ม.ค. 57- สิ้นสุด กธ. ปัจจุบัน 1 ม.ค.59) และ
2. มีการเรียกร้องไปยังบริษัทรับประกัน (Claims made) ในระหว่างวันที่ กรมธรรม์ปัจจุบันมีผลคุ้มครองเท่านั้น หากเรียกร้อง (Claims made reported) หลังกรมธรรม์หมดอายุแล้ว จะไม่ให้ความคุ้มครอง 

จึงเป็นที่มาของการเน้นให้ผู้เอาประกันที่ทำประกันประเภทนี้ ต้องต่ออายุกรมธรรม์ให้มีผลคุ้มครองอยู่เสมอ เพราะการเรียกร้องมักจะตามมาหลังจากเหตุการณ์ที่ทำผิดพลาด อาจนาน 1-2 ปี

ต่างจากประกันภัย Occurence type policy เช่น ประกันภัยรถยนต์ ที่คุ้มครองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน เวลา ที่เริ่มต้นจนถึงวันที่สิ้นสุด เช่น 

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ คุ้มครอง 1 มกราคม 2557- 1 มกราคม 2558 และเกิดเหตุรถชนขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม 2557 หากมีการเรียกร้องความเสียหาย 2 มกราคม 2558 ภายหลังวันที่กรมธรรม์หมดอายุ ก็ยังให้ความคุ้มครอง(แต่ต้องมีหลักฐานชัดเจน) เนื่องจากเป็นเหตุที่เกิดในช่วงวันที่กรมธรรม์คุ้มครอง เพราะเป็น กรมธรรม์ Occurence type 

เช็คราคาและสั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่

กรุณาเลือกสาขาความเชี่ยวชาญทางแพทย์ของท่าน




วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อรีไฟแนนซ์


     
สินเชื่อสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ปลอดภาระ และต้องการเงินลงทุนระยะสั้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ ขั้นตอนง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องโอนทะเบียน ไม่ต้องจอดรถ รับเงินรวดเร็วภายใน 3 วันทำการ


  ธนาคาร ทิสโก้ 

ดอกเบี้ยต่ำ สมัครออนไลน์ อนุมัติง่าย จ่ายไว 
สินเชื่อเพื่อคนมีรถ คือ บริการเงินกู้ สำหรับท่าน ผู้เป็นเจ้าของ
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ปลอดภาระ  แบ่งเป็นสินเชื่อ 2 ประเภท 

สมัครOnline Click 


เลือกสมัครสินเชื่อออนไลน์ ด้านล่าง 


สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์

เหมาะสำหรับการใช้เงินระยะสั้น เช่น ปิดหนี้บัตรเครดิต จ่ายค่าเทอม รายจ่ายฉุกเฉิน 
ไม่ต้องโอนรถ, ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม, ไม่บังคับทำประกันชั้น 1 
อนุมัติง่าย รับเงินเร็ว
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.55% ต่อเดือน

สินเชื่อรีไฟแนนซ์ (Refinance)  

เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการวงเงินสูง ผ่อนระยะยาว 
ต้องโอนกรรมสิทธิ์ทะเบียนรถให้ธนาคาร
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.5% ต่อปี





  • ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติง่าย จ่ายไว
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ไม่ต้องโอนเล่ม ไม่ต้องจอดรถ รถยังมีขับ
  • ได้วงเงินสูง ตั้งแต่ 50,000 - 5,000,0000 บาท
  • โปะได้ ไม่มีค่าปรับปิดบัญชีก่อนกำหนด
  • สมัครได้ทุกจังหวัด ทั่วไทย
วงเงินสินเชื่อ
สูงสุด 100% ของราคาประเมินรถยนต์



วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประกันภัยรถยนต์กับพระราชบัญญัติประกันภัยรถยนต์

การประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2536 สาระสำคัญของกฎหมายสรุปได้ ดังนี้
เหตุผลในการประกาศใช้กฎหมาย
        
        การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
  1. เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เพราะเหตุ ประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที กรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่า ปลงศพ กรณีเสียชีวิต
  2. เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลในการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
  3. เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
         รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก  กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ
         ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วย

ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
  1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์  พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์
  2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวัง กำหนด
  3. รถของกระทรวง ทบวงกรม  เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
  4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ. 
ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่  เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. 
ผู้ประสบภัย หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้

ผู้มีหน้าที่รับประกันตาม พ.ร.บ. 
ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้น รวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองแสนห้าหมื่นบาท

ความคุ้มครองเบื้องต้นตาม พ.ร.บ. 
ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
  1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  2. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
    (ก) ตาบอด
    (ข) หูหนวก
    (ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
    (ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
    (จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
    (ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
    (ช) จิตพิการอย่างติดตัว
    (ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร 
  3. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  4. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  5. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน  
ค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีรถตั้งแต่ 2 คัน ขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย 
กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย(เฉี่ยวชนกัน) เป็นเหตุให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทรับประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถคันใดคันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน

การใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น 
ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้น กับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
  1. กรณีบาดเจ็บ
    1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
    1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให ้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย
    ในกรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย
  2. กรณีเสียชีวิต
    2.1 สำเนามรณบัตร
    2.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
    2.3 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย 
 ค่าสินไหมทดแทน(ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) 
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้
1. ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิดตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2. กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน
(ก) ตาบอด
(ข) หูหนวก
(ค) เป็นใบ้หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด
(ง) สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์
(จ) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว
(ฉ) เสียอวัยวะอื่นใด
(ช) จิตพิการอย่างติดตัว
(ซ) ทุพพลภาพอย่างถาวร
3. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4. ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความคุ้มครองที่กล่าวมาแล้วนั้น
การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน ค่าชดเชยรายวัน และค่าปลงศพ 
ในกรณีรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประสบอุบัติเหตุชนกับรถอื่น ซึ่งมีการประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ บริษัทจะสำรองจ่าย ให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ดังนี้
  1. ค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จรับเงิน ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีได้รับบาดเจ็บ
  2. ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร
  3. ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน หรือค่าปลงศพ รวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน
สำหรับ ผู้ประสบภัยที่เป็นบุคคลภายนอกรถ บริษัทและผู้รับประกันภัยอื่นจะร่วมกันสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนหรือค่าปลงศพ โดยเฉลี่ยฝ่ายละเท่าๆ กัน

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย 
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย กรณีดังต่อไปนี้
1. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยมิได้จัดทำประกันภัยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และเจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 15,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท )
2. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้แล้ว
3. รถนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามที่กฎหมายกำหนดไว้
4. รถนั้นมีผู้ขับหลบหนีไปหรือไม่อาจทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด
5. บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน
6. รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
กรณีรถไม่ทำประกันภัยไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย
กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อเจ้าของรถฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยแล้วรถคันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของรถจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บเจ้าของรถต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือถ้าเสียชีวิตต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้(กรณีบาดเจ็บเท่าที่รักษาจริงจะไม่เกิน 15,000 บาท หากเสียชีวิต 35,000 บาท ) หากน้อยกว่านี้ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้ว กฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่เรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปคืนจากเจ้าของรถรวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบอีกต่างหากภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน

ระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพระราชบัญญัตินี้ 
กฎหมายกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ประสบภัยต้องร้องขอภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด 
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ทวิ บัญญัติให้จัดตั้ง “ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ” ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ เพื่อให้บริการเกี่ยวกับการรับคำร้องขอและการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัตินี้ แทนบริษัทประกันภัยต่าง ๆ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทที่รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ เนื่องจากบริษัทกลางฯ มีสาขาให้บริการอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  • ต่อมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2542 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้บริษัทกลางฯ รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ได้
  • ทำหน้าที่เป็นสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติ (Thai National Bureau of Insurance)
ปัจจุบันบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 44/1 อาคารรุ่งโรจน์ธนกุล ชั้น 1 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร 0-2100-9191 แฟ็กซ์ 0-2643-0293-4

ข้อมูลจาก คปภ.


การประกันภัยรถยนต์ (Automobile Insurance)
สามารถที่จะแบ่งการคุ้มครองออกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.การคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกเพียงอย่างเดียว (Third Party Liability Only) คุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย

2.การคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก และ ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยเนื่องจากไฟไหม้ หรือถูกขโมยทั้งคัน (Third Party Liability and fire or theift) การคุ้มครองเหมือนกับ  ข้อ 1 และรวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยในกรณีที่เกิดไฟไหม้หรือรถยนต์คันนั้นถูกขโมยไปทั้งคัน

3.คุ้มครองรวม (Comprehensive) คุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้ 
   3.1 ความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก เช่น ทรัพย์สิน ชีวิต ร่างกาย ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย
   3.2 ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไฟไหม้ การระเบิด โจรกรรมทั้งคัน น้ำท่วม ภัยธรรมชาติต่างๆ การกระทำของคนวิกลจริต การกระทำมุ่งร้าย ฯลฯ
ในการประกันภัยรถยนต์ทั้ง 3 ประเภท ที่กล่าวข้างต้น ทางบริษัทยังให้การคุ้มครองรวมถึงความรับผิดชอบต่อผู้โดยสารในรถยนต์ที่เอาประกันภัย ซึ่งเกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย นอกจากนั้นยังมีการคุ้มครองเพิ่มเติมอื่นๆ ที่อาจซื้อเพิ่ม เช่น การประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลของคนขับและผู้โดยสารในรถ เป็นต้น


ประกันภัยรถยนต์

แนวคิดเกี่ยวกับการประกันภัย

              ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า เราทำประกันภัย หรือ ประกันวินาศภัยเพื่อจุดประสงค์ใด บางท่านเห็นว่าการทำประกันภัย เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเวลาเกิดความเสียหายขึ้นอย่างน้อยเราก็ยังได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือได้รับค่าชดเชยที่เพียงพอกับความเสียหาย เมื่อเทียบกับเบี้ยประกันที่ไม่แพงมากนัก แต่บางท่านอาจจะมองว่าการทำประกันภัย เป็นเรื่องฟุ่มเฟื่อยไม่ประโยชน์ คงไม่เกิดเหตุอะไรขึ้นหรอก เสียเงินทิ้งเปล่าๆหลายๆคนก็มีความคิด มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป แต่เราลองกลับมามองอีกแง่นึ่งสิครับว่า ทำไมทุกวันนี้ บริษัทประกันภัยเกิดขึ้นมากมายหลายบริษัท แม้แต่ธนาคารเองก็ยังขายประกัน มีทั้งประกันรถยนต์ พ.ร.บ.รถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ประกันการเดินทาง ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เยอะแยะมากมาย หลากหลายราคา หลากหลายแพกเกจ อย่างที่ผมเคยเขียนในบทความที่ผ่านมาแล้วว่า การประกันภัยมิใช่การรับประกันว่าจะไม่เกิดภัย หรือเกิดความเสียหายขึ้นแก่ชีวิตหรือทรัพย์สิน แต่เป็นการประกันว่าหากเกิดภัยหรือความเสียหายขึ้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น การประกันภัยย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ ตามสัญญา รวมทั้งยังให้ประโยชน์แก่สังคม ธุรกิจ และ เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมอีกด้วย  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันนี้ โลกของเรา บ้านเมืองของเรา ความเสี่ยงภัยเริ่มเยอะมากขึ้น ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินลดน้อยลง ดังนั้นประกันภัยจึงเป็นผู้ที่จะเข้ามาช่วยคุ้มครอง เยียวยา บรรเทาทุกข์ พร้อมกับดูแลชีวิตและทรัพย์สินของเรา อย่างเต็มรูปแบบ แลกกับเบี้ยประกันภัยที่เป็นธรรม ราคาถูก ซึ่งหลายๆบริษัทต่างก็มีโปรโมชั่น ส่วนลด รายการส่งเสริมการขาย แต่ก่อนจะตัดสินใจจะซื้อก็ต้องศึกษารายละเอียดข้อมูล ขอบเขตความคุ้มครอง เงื่อนไขความรับผิดต่างๆ และข้อมูลบริษัท ให้ชัดเจน เพราะปัจจุบัน บริษัทประกันภัยมีเป็นจำนวนมาก แต่ถึงอย่างไรนั้น การจะก่อตั้งบริษัทรับประกันภัยหรือประกันวินาศภัยได้ จะต้องมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย ที่ยื่นต่อ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ เสียก่อน ถึงจะดำเนินการรับประกันวินาศภัยได้
              การทำประกันภัย ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ถ้าไม่ทำนะซิครับ เสียหายแน่นอน มิหนำซ้ำถ้าเกิดวินาศภัยขึ้นแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ โต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา สุดท้ายไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากใครเลยสักบาท   เพราะฉะนั้นอย่ามองข้ามความปลอดภัยในชีวิต เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเราหรือทรัพย์สิน ของเรา ในอนาคต ทำประกันไว้อุ่นใจไปอีกนาน 


วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาเรื้อรังการใช้ไฟผ่าหมาก หรือ ไฟฉุกเฉิน อย่างไม่จำเป็น

พฤติกรรมการขับรถของคนไทยที่แก้ไม่หาย เสพติด "ไฟผ่าหมาก" ใครเขาใช้กันถ้าไม่ฉุกเฉิน!!

'ไฟผ่าหมาก' คำเรียกแบบสนิทสนมของ 'ไฟฉุกเฉิน' อันเป็นชื่อจริงๆ ตามหลักสากลที่ถูกต้อง แต่มันมีอิทธิพลต่อความหมายและความเชื่อแบบผิดชนิดอันตรายของใครก็ตามที่ไม่ทันได้รู้ความเป็นมาเป็นไปแต่ปางก่อน...

กาลครั้งหนึ่งนานหรือเปล่าก็ไม่รู้ ลักษณะของไฟสีส้มๆ ตามความรู้สึกชาวบ้าน นอกจากมันทำให้ใครหลายคนงงเป็นมือใหม่ตาแตกกับคำตอบของข้อสอบกรมขนส่งอันงงงวยว่าสีของไฟเลี้ยวรถเนี่ยมันคือสีอะไร...คำตอบที่ถูกต้องคือ เหลืองอำพัน !! ซึ่งมองยังไงสีมันก็เหมือนสีส้มของเปลือกส้มไม่ผิดเพี้ยน และก็ไม่เคยได้ยินใครสั่งส้มเหลืองอำพัน 2 กิโลฯ กลับบ้านเสียที ให้ดิ้นตายเหอะ


ตำแหน่งโดยสามัญสำนึกของไฟเหลืองอำพันจะถูกติดตั้งอยู่ขนาบข้างซ้าย-ขวาของยานพาหนะทุกๆ ประเภท ถ้าผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวรถหรือเปลี่ยนเลนไปทางไหนก็จะต้องจัดการเปิดไฟเลี้ยวข้างนั้น ซึ่งมันจะมีลักษณะกะพริบเป็นนิสัยส่วนตัวต่างจากไฟดวงอื่นๆ ยกเว้นคนบางจำพวกที่ดันยัดนิสัยผิดๆ ด้วยการสั่งให้ไฟเบรกดันกะพริบไปกับเขาด้วย



แต่เมื่อใดก็ตามที่ไฟเหลืองอำพัน เอ่อ...ยาวเกิ๊น ต่อไปขอเรียกแบบบ้านๆ ว่า 'ไฟเลี้ยว' ก็แล้วกัน ถ้าเมื่อใดไฟเลี้ยวทั้งซ้าย-ขวากะพริบขึ้นพร้อมกัน ให้พึงระลึกไว้ว่ามันไม่ใช่สัญญาณไฟผ่าหมาก ที่หมายถึงว่า 'ขอทางวิ่งตรง' อย่างที่เข้าใจ

ไฟฉุกเฉินมีไว้ 'เตือน' ไม่ใช่มีไว้ 'ขอ'

เพราะความเชื่อที่ผิดๆ ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นของวัฒธรรมไทยๆ ทำให้ทุกวันนี้เรายังเห็นผู้ขับขี่ที่อยากวิ่งตรงไป นิยมเปิดไฟฉุกเฉินด้วยความเชื่ออย่างหัวปักหัวปำว่ามันคือไฟขอทาง!! ความอันตรายของการเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อวิ่งตรงนั้นคือ จะทำให้รถที่ออกจากแยกหรือตรอกซอกซอย คิดว่ารถคันนั้นกำลังจะเลี้ยว เพราะเขาไม่ได้มีญาณทิพย์ที่จะไปมองเห็น ว่าไฟเลี้ยวอีกข้างมันก็ติดอยู่เหมือนกัน


ฝนตกหนักไม่ต้องใช้ จำไว้ให้ดี

การเปิดไฟฉุกเฉินในขณะฝนตกหนักเช่นกัน เรามักพบคนขับรถหน้ามึนไม่น้อย เป็นพวกลัทธินิยมไฟฉุกเฉินไม่ว่าจะเกิดอะไร ฉันขอเปิดไว้ก่อน ด้วยความเชื่อว่ามันช่วยให้รอดปลอดภัยจากทุกภยันตรายได้โดยไม่ต้องกราบไว้ แค่เอานิ้วน้อยๆ ไปจิ้มตรงสัญลักษณ์สามเหลี่ยมเป็นอันเสร็จพิธี แต่รู้หรือไม่มันอันตรายยิ่งกว่าเล่นคุณไสยอีกนะ เพราะรถที่วิ่งขนาบข้างไม่สามารถรู้ได้เลยว่าแท้จริงแล้วมันเป็นไฟฉุกเฉิน ไม่ใช่ไฟเลี้ยวธรรมดาๆ


ความหมายตามมาตรฐานสากล

ซึ่งตามหลักชาวสากลโลก จะเข้าใจความหมายไปในทางเดียวกันสำหรับสัญญาณไฟฉุกเฉิน คือแสดงว่ารถคันนั้นกำลังจอดเสียอยู่ ไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ ผู้ขับขี่อื่นจะสามารถรับรู้ได้อย่างทันทีว่ารถคันนี้กำลังจอดแน่นิ่งไม่ไหวติง พึงต้องลดแรงกระแทกคันเร่งและต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ


เบรกกะทันหัน ใช้เตือนอย่างเฉียบพลัน

ในกรณีต่อมา คือเมื่อเกิดการเบรกอย่างกะทันหันชนิดปัจจุบันทันด่วน การกะพริบสัญญาณไฟฉุกเฉิน เป็นการเตือนรถคันหลังว่า รถเรากำลังเบรกอย่างเต็มที่ คุณก็เบรกเต็มที่ได้เลย อย่าแค่ชะลอความเร็ว ซึ่งรถหลายๆ รุ่นในปัจจุบันนี้ก็ใส่ระบบนี้มาให้พร้อมสรรพ ไฟฉุกเฉินจะติดเองทันทีเมื่อมันรู้ว่ากำลังอยู่ในภาวะเบรกอย่างคับขัน

คราวนี้หวังว่าเมื่อได้รับรู้โดยพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็คงจะเข้าใจอะไรต่อมิอะไรมากขึ้น อย่างน้อยใช้สัญญาณต่างๆ ให้ถูกวิธีเพื่อลดความปวดเศียรเวียนหัวให้กับเพื่อนร่วมทางได้สักนิดก็ยังดี การขับขี่จะได้มีแต่รอยยิ้มและปลอดภัยกันทุกคนประชาชนชาวไทย...





วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

กรมการขนส่งทางบก ปรับรูปแบบการสอบใบอนุญาตขับขี่ใหม่ เริ่ม 1 มิถุนายน 2557


       การทำใบขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ล้วนแล้วต้องผ่านการทดสอบที่เข้มงวดเพื่อความปลอดภัยของท่านและผู้อื่น ซึ่งนั่นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย และที่สำคัญ ให้เราได้ตระหนักถึงกฏระเบียบในการขับขี่ได้อย่างดีเยี่ยม

          กรมการขนส่งทางบก ได้ปรับหลักสูตรการอบรม และทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถให้เข้มข้น โดยเพิ่มเนื้อหาการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการขับรถที่ปลอดภัย เพิ่มเกณฑ์ผ่านการทดสอบ โดยอบรม 4 ชั่วโมงเหมือนเดิม ไม่ใช่ 12 ชั่วโมงตามข่าวลือ แต่อย่างใด

          นายอัฌษไธค์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยว่า จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนพบว่าสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุทางถนนยังคงเกิดจากการขาดวินัยและสำนึกที่ดีในการขับขี่ รวมถึงการขาดความระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนและความรอบรู้ในการขับรถอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ

      กรมการขนส่งทางบกจึงได้พัฒนาหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ให้มีความรู้ความเข้าใจในการขับขี่ที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง ปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ครอบคลุมถึงการขับรถอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ

          ในการสอบภาคทฤษฎีนั้นเพิ่มจำนวนข้อสอบเป็น 50 ข้อ ผ่านเกณฑ์การสอบร้อยละ 90 (หรือต้องทำได้ 45 ข้อ) จากเดิมข้อสอบ 30 ข้อเกณฑ์ผ่านเพียงร้อยละ 75 (หรือต้องทำได้ 23 ข้อ) โดยข้อสอบแบบใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ข้อ ใช้หมุนเวียนออกสอบในแต่ละรอบ พร้อมเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก ให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนสอบด้วย ซึ่งเริ่มการสอบใบขับขี่รูปแบบใหม่ในวันที่ 1 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป



ข้อมูลเพิ่มเติม:
1. ข้อสอบแบบใหม่นี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ข้อ ใช้หมุนเวียนออกสอบในแต่ละรอบ
2. ข้อสอบทั้งหมดเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก ให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนสอบด้วย
3. สำหรับการทดสอบภาคปฏิบัติ หรือการทดสอบขับรถนั้น จะทำในวันถัดไป แต่ไม่เกิน 90 วัน นับจากวันที่ยื่นเรื่องวันแรก
4. ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ไม่มีใบอนุญาตชนิดเดียวกัน ไม่อยู่ระหว่างพักและเพิกถอนใบอนุญาต
5. สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการดังต่อไปนี้ เช่น แขนขาดข้างเดียว ขาขาดข้างเดียว ตาบอดข้างเดียว ลำตัวพิการ หูหนวก เมื่อต้องการมีใบอนุญาตขับขี่ ต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ขนส่งก่อนจึงจะทำได้
6. หลักฐานที่นำไปด้วย คือ
    6.1 บัตรประชาชนตัวจริงพร้อมใบสำเนา หรือบัตรประจำตัวข้าราชการพร้อมใบสำเนาที่ใช้แทนบัตรประชาชน
    6.2 ใบรับรองแพทย์ตัวจริงไม่เกิน 1 เดือน ที่รับรองว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
7. เนื่องจากปัจจุบันผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้ต้องรอคิวอบรมและทดสอบเป็นเวลานาน กรมการขนส่งฯจึงให้สำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด ประสานสถาบันการศึกษาภาครัฐที่มีมาตรฐาน และมีความพร้อมจัดอบรมภาคทฤษฎีตามหลักสูตรที่กรมการขนส่งฯ กำหนด ให้กับผู้ที่ประสงค์ขอรับใบอนุญาตขับขี่ เบื้องต้นเฉพาะผู้ขอรับใบอนุญาตขับขี่รถใหม่ และการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ ส่วนจะเริ่มได้เมื่อไหร่นั้น จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประกันวินาศภัยเกี่ยวข้องกับอะไร (Non-Life insurance)

การประกันวินาศภัยเกี่ยวข้องกับการรับประกันภัยสิ่งของต่างๆ ได้แก่

      1. ทรัพย์สิน เช่น อาคาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องใช้ภายในบ้าน รถยนต์ ฯลฯ
      2. ความรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น การที่เจ้าของรถยนต์ขับรถโดยประมาทไปชนของผู้อื่นเสียหายหรือชนคนอื่นกำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เป็นต้น
      3. ค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น การที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุต้องเข้ารับ     การรักษาในโรงพยาบาล
      4. ความเสียหายต่อเนื่องจากการที่ทรัพย์สินเสียหาย เช่น กำไรที่ขาดหายไปในขณะที่ห้างสรรพ         สินค้าต้องหยุดกิจการเพื่อซ่อมแซมความเสียหายจากไฟไหม้

         โดยเหตุที่ความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย หรือความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้อื่น เป็นสิ่งที่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้แน่นอน เช่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยที่ถูกชนเสียหาย ค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล เป็นต้น ดังนั้นการประกันวินาศภัยโดยทั่วไปจึงใช้หลักของการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ ได้เอาประกันภัยรถยนต์ คันหนึ่งแบบคุ้มครองรวม (Comprehensive) ไว้เป็นเงิน 500,000 บาท ในกรณีที่รถยนต์คันนี้ถูกชนเสียหาย และต้องซ่อมแซมเป็นเงินท 20,000 บาท ผู้เอาประกันภัยรายนี้ก็จะได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย ตามจำนวนเงินค่าซ่อมแซมเท่าที่ได้จ่ายไปจริง คือ 20,000 บาท

การประกันกึ่งประกันชีวิตและกึ่งประกันวินาศภัย (Quasi Life and Non-Life) 

          ในทางปฏิบัติมีกรมธรรม์ประกันภัยบางประเภทในประเทศไทย ที่มีลักษณะผสมระหว่างการประกันชีวิตกับการประกันวินาศภัย การประกันภัยในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการประกันภัยพวกอุบัติเหตุของคน ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุการเดินทาง  เป็นต้น ในการประกันภัยทั้งสองประเภทที่กล่าวมานี้ บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต โดยอุบัติเหตุเท่ากับจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุที่ได้ซื้อไว้ แต่ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุและต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ตามจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลที่ได้ซื้อไว้



ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ

ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ
ประกันภัยรถยนต์ถูกสุดๆ ซื้อออนไลน์ สะดวก ลดพิเศษ จัดส่งฟรีทั่วไทย

บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า

บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า
ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+, 3+ และชั้น 3 รับฟรี บัตรสมาชิก PrakunRod Family เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลดร้านค้า เช่น ล้างรถ เคลือบสี ที่พัก ในราคาพิเศษสุด พร้อมกิจกรรมแจกรางวัล

โพสต์แนะนำ

ประกันภัยรถบิ๊กไบค์ ประกันภัยBigBike ประกันมอเตอร์ไซต์ทั่วไป

ประกันรถมอเตอร์ไซต์บิ๊กไบค์ BigBike เอาใจขาซิ่ง  Big Bike ! สิ่งที่เราสัญญากับคุณ ง่ายและรวดเร็ว     ราคาที่คุ้มค่า    ประหยัดเ...

ช่องทางชำระเงินค่าประกันภัย

ช่องทางชำระเงินค่าประกันภัย
ชำระเงินประกันสะดวกสบาย ปลอดภัย ผ่านบัตรเครดิต บัตรvisa โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ชำระผ่านบัญชี Paypal LINE Pay หรือ บริการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต

ตัวอย่างความพอใจของลูกค้าที่มีต่อบริการของเรา