ความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์
ตามหลักแล้ว ถ้าเป็นเรื่อง สิ่งของตกหล่นจากโรงเรือน แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลอื่น เช่น รถยนต์ ,ตัวบุคคล, หรือ ทรัพย์สินอื่นๆ ตามกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติ ไว้ในมาตรา 436 "บุคคลผู้อยู่ในโรงเรือนต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดเพราะของตกหล่นจากโรงเรือนนั้น หรือเพราะทิ้งขว้างของไปตกในที่อันมิควร"
จากบทบัญญัติ ของกฎหมาย แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าบุคคลที่อยู่ในบ้าน ห้อง อาคาร หรือ ในโรงเรือน จะเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเขาอยู่ก็ตาม ถ้าความเสียหายเช่นนั้นเกิดมีขึ้น จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นทั้งสิ้น รวมทั้งขว้างปาสิ่งของไปตกในที่อันมิควรด้วย
ด้วยส่วนตัวของผู้เขียน ก็ประกอบอาชีพบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ ก็ประสบกับปัญหาเช่นนี้ บ่อยครั้ง กระจกตกหล่นจากอาคาร มาโดนรถบ้าง ถ้ามีประกันชั้น 1 ก็ดีไปครับ ถ้าไม่มีก็เศร้าหน่อย แต่ถึงอย่างไร ถ้าหากเราพิสูจน์ได้ว่าต้นเหตุของความเสียหายนั้น เกิดจาก ห้องไหน บ้านหลังไหน ก็สามารถเรียกให้ เจ้าของหรือผู้อยู่อาศัยในโรงเรือน(บ้าน คอนโด ห้องเช่า ฯลฯ) ชดใช้ค่าเสียหายได้ครับ แต่ก่อนอื่นอย่าลืมไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนนะครับ เพื่อให้ทราบว่าเราเป็นผู้เสียหายจริง และป้องกันการปัดความรับผิดชอบ ของผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
บริการเว็บสั่งซื้อออนไลน์ประกันภัยรถยนต์ ตลอด 24 ชม.ทั่วประเทศ ประกันภัยรถยนต์,พ.ร.บ.รถยนต์,ประกันรถมอเตอร์ไซต์หาย,ประกันอุบัติเหตุ,ประกันสุขภาพ,ประกันความรับผิดแพทย์,ประกันความรับผิดของผู้ขนส่ง และ ประกันภัยรถยนต์ทุกประเภท เช็คราคาฟรี ถูกสุดๆ สั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ตอนนี้ จัดส่งฟรีภายใน 1 วันทำการ ด้วยบริการที่ สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก
- หน้าแรก
- ประกันภัยรถยนต์
- ประกันภัยชั้น 1
- ประกัน 2 พลัส(2+) รถยนต์/มอเตอร์ไซต์
- ประกัน 3 พลัส(3+) รถยนต์/มอเตอร์ไซต์
- ประกันภัยชั้น 3
- ประกันชั้น 3 กันชน
- พ.ร.บ.รถยนต์/พ.ร.บ.มอเตอร์ไซต์
- ประกันรถมอเตอร์ไซต์หาย
- ประกันอุบัติเหตุ
- ประกันสุขภาพ
- ประกันความรับผิดแพทย์
- ประกันความรับผิดของผู้ขนส่ง
- ประกันบ้าน/ประกันอัคคีภัย
- ประกันอัคคีภัยหอพัก อพาร์ทเม้นท์ เกสท์เฮาส์ แมนชั่น โรงแรม
- ประกันโรคมะเร็ง ประกันโรคร้ายแรง
- ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risk - IAR Insurance)
- ขั้นตอนการสั่งซื้อ
- การชำระเงิน
- ติดต่อเรา
วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
ประกันบ้าน ประกันอัคคีภัย รับส่วนลดพิเศษ เช็คราคาฟรี
วินาศภัยบรรเทาได้ ด้วยการประกันภัย
ซื้อประกันภัยบ้าน ประกันอัคคีภัย กับเราวันนี้ รับส่วนลดพิเศษ เช็คราคา สั่งซื้อออนไลน์ได้เลย!
ประเภทสิ่งปลูกสร้าง คอนโดมิเนียม ,ตึกแถว, อาคารพาณิชย์, ทาวน์เฮาส์, บ้านเดี่ยว,บ้านแฝด และ แฟลต
หลากหลายความคุ้มครอง อาทิเช่น ภัยไฟไหม้ ,ภัยฟ้าผ่า,ภัยระเบิด,ภัยจากยานพาหนะ,ภัยจากอากาศยาน,ภัยเนื่องจากน้ำพายุ,ลูกเห็บ ,แผ่นดินไหว,ภัยจลาจล,ทรัพย์สินเสียหายกรณีโจรกรรม ฯลฯ
ไม่ว่าภัยใดๆ คุณก็สบายใจหายห่วงเมื่อมีประกันภัยบ้าน/ประกันอัคคีภัย
เช็คราคาฟรีและสั่งซื้อออนไลน์ จาก Prakunphai Online ราคาถูกสุดๆ ซื้อได้จากที่นี่ ที่เดียวเท่านั้น สะดวก ประหยัด ปลอดภัย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
เช็คราคาฟรี ประกันบ้าน/ประกันอัคคีภัย |
การประกันอัคคีภัย คืออะไร?
การประกันอัคคีภัย หรือการประกันไฟไหม้ คือการประกันสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินที่อยู่ภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น อันได้รับความเสียหายมาจากภัยตามที่กำหนดไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ โดยจะให้ความคุ้มครองในส่วนของภัยหลัก และภัยเพิ่มที่ผู้เอาประกันมีการซื้อเพิ่มเติม โดยถ้าเป็นการประกันอัคคีภัยประเภทที่อยู่อาศัย หรือประกันไฟไหม้บ้าน ภัยที่ให้ความคุ้มครองตามพื้นฐานของกรมธรรม์ก็ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด ภัยเนื่องจากน้ำ ( ไม่รวมน้ำท่วม ) ภัยจากอากาศยาน ภัยจากยานพาหนะ
ส่วนถ้าสถานที่ใช้งานเป็นประเภทอื่นที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยเช่น ร้านค้า โกดังเก็บสินค้า โรงงานผลิตสินค้าต่างๆ และอื่นๆ ภัยที่ให้ความคุ้มครองพื้นฐานตามกรมธรรม์ จะมีเพียง ไฟไหม้และฟ้าผ่า ส่วนภัยอื่นๆ ผู้เอาประกันจะต้องซื้อเพิ่มเติมให้กับกรมธรรม์หลัก
ในส่วนของที่มาของเบี้ยประกันไฟไหม้นั้น การประกันประเภทนี้ จะมีที่มาของเบี้ยประกันภัยชัดเจน โดยปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราเบี้ยประกันคือ
1. ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งแบ่งเป็น ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3
2. การใช้สถานที่ จะมีอัตราแน่นอนชัดเจน เนื่องจากมีการกำหนดอัตราเบี้ยประกันในแต่ละประเภทของการใช้สถานที่เป็นอัตรากลางที่ใช้สำหรับบริษัทประกัน เช่นถ้าเป็นที่อยู่อาศัยคือ 0.081, ร้านค้า 0.204, โกดังเก็บสินค้า ( ไม่ไวไฟ ) 0.238 ส่วนการใช้งานประเภทอื่นๆ ก็จะมีอัตราแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยในธุรกิจนั้นๆ ( อ้างอิง ณ 1/1/2554 )
3. ทำเลที่ตั้ง ว่าอยู่ในส่วนกลาง หรือ ภูมิภาค อยู่ในบริเวณที่มีความแออัดหรือไม่ เช่นร้านค้า บริเวณบางนา ก็ย่อมมีอัตราเบี้ยประกันถูกกว่าร้านค้าที่อยู่แถวย่านสำเพ็ง หรือเยาวราช เพราะมีความแออัดยัดเยียดมากกว่า
4. สภาพแวดล้อม ว่าเป็นภัยเดี่ยว หรือ ภัยไม่โดดเดี่ยว คือต้องพิจารณาต่อว่าสิ่งปลูกสร้างที่จะทำประกันนั้นอยู่ชิดติดกับสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หรือไม่ คือระยะห่างทั้ง 4 ด้าน ห่างเกินกว่าอาคารข้างๆ ด้านละ 10 เมตร ถ้าห่างน้อยกว่าหรือติดชิดกับอาคารสถานที่อื่นก็ต้องมีการบวก Surcharge 0.02 เพราะถือว่าความเสี่ยงอาจมีต้นเหตุมาจากอาคารที่ติดกันได้
5. ภัยเพิ่มต่างๆ หลังจากนั้นก็พิจารณาว่าต้องการซื้อภัยเพิ่มอะไรบ้างเพื่อให้เหมาะกับสถานที่ตั้งหรือประเภทธุรกิจของเรา เช่นถ้าเป็นร้านค้าในอาคารที่เป็นศูนย์การค้าหรือเป็นพลาซ่า ก็อาจมีการซื้อภัยเนื่องจากน้ำ เพราะมีความเสี่ยงที่น้ำในท่อภายในอาคารอาจรั่วไหลมาทำให้ทรัพย์สินเราเสียหายได้ โดยภัยเพิ่มก็จะมีอัตราตั้งแต่ 0.005 – 0.01 ขึ้นอยู่กับว่าเป็นภัยใด
ในส่วนของการลดเบี้ยประกันให้ต่ำลงก็สามารถทำได้ ในกรณีที่เรามีการติดอุปกรณ์ดับเพลิง เช่นมีหัวฉีดดับเพลิง มีการต่อท่อน้ำทั่วสถานที่ หรือแม้กระทั่งมีหัวดับเพลิงแบบ Sprinkler ก็จะมีส่วนลดอุปกรณ์ดับเพลิงให้ ตั้งแต่ 10 – 25% ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงที่เราติดตั้ง นอกจากนั้นก็ยังมัส่วนลดการทำประกันระยะยาวหรือ Long Term ด้วย
ผู้มีสิทธิทำประกันอัคคีภัย
เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์มีผลประโยชน์ และส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัย
สิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย หมายถึง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต คอนโดมีเนียม
ทรัพย์สินที่สามารถเอาประกันได้
- ตัวอาคาร บ้านเรือน หรือสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน)
- เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง ตรึงตรา
- ทรัพย์สินที่อยู่ในตัวอาคารนั้นๆ
ทรัพย์สินที่ไม่รวมอยู่ในการประกันภัย
(เว้นแต่ได้ระบุในกรมธรรม์โดยชัดเจน)
- สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัย ในฐานะผู้ดูแลรักษา
- เงินแท่ง หรือทองแท่ง อัญมณีที่มีค่า
- โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเกินกว่า 2,000 บาท (10,000 บาท สำหรับกรมธรรม์ที่อยู่อาศัย)
- ต้นฉบับเอกสาร แบบแปลน แผนผัง หรือ เอกสารสำคัญต่างๆ ไปรษณียากร อากรสแตมป์ เงินตรา ธนบัตร
- เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียหาย เพราะเดินเครื่องเกินกำลัง วงจรลัด หรือไฟฟ้ารั่ว จนทำให้เกิดเพลิงไหม้
- วัตถุระเบิด
ภัยพิเศษที่สามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้
ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์มาตรฐานผู้เอาประกันภัย สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ดังนี้
- ภัยจากลมพายุ
- ภัยจากน้ำท่วม
- ภัยจราจล นัดหยุดงาน
- ภัยจากควัน
- ภัยแผ่นดินไหว
ภัยที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง
- ภัยธรรมชาติ เช่น พายุไต้ฝุ่น ไฟป่า
- อาวุธนิวเคลียร์ และการแผ่รังสี
- ภัยสงคราม การรุกรานจากศัตรูต่างประเทศ หรือสงครามกลางเมือง
- การกบฎ ปฏิวัติ จลาจล ยึดอำนาจ
ปัจจัยในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย
ส่วนใหญ่บริษัทรับทำประกันจะพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
- ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง
- ลักษณะการใช้สถานที่อยู่อาศัยเท่านั้น
- สถานที่ตั้งของทรัพย์สิน
- อุปกรณ์สำหรับการดับเพลิง
- สิ่งแวดล้อม
สำหรับจำนวนเงินเอาประกันภัย กำหนดจากมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่ต้องการเอาประกันภัย
วิธีสั่งซื้อ: สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บเป็นวิธีที่ดีที่สุด เจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลแน่นอน คลิกที่ปุ่มสั่งซื้อ และกรอกข้อมูล อ่านขั้นตอนการสั่งซื้อแบบละเอียด
ชำระเงินสะดวกด้วยบัตรเครดิต หรือ โอนเงินเข้าบัญชี
พิเศษ ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ผ่านระบบ LINE Pay ฟรี ค่าธรรมเนียม
สำคัญ ท่านต้องมีบัญชี LINE Pay อยู่แล้ว หรือสมัครให้เรียบร้อยก่อนทำการสั่งซื้ออ่านวิธีการสมัคร LINE Pay คลิกที่นี่
ประกันรถออนไลน์,ประกันมอเตอร์ไซต์,ประกันมอเตอร์ไซต์หาย,ประกันรถจักรยานยนต์หาย,ประกันโจรกรรมรถจักยานยนต์,พ.ร.บ.รถยนต์ออนไลน์,พ.ร.บ.รถยนต์ราคาถูก,ประกันภัยออนไลน์,ประกันอุบัติเหตุออนไลน์,ประกันสุขภาพออนไลน์,ประกันสุขภาพราคาถูก,ประกันการเดินทางออนไลน์,ประกันการเดินทางราคาถูก,ประกันภัยบ้าน,ประกันบ้าน,ประกันบ้านออนไลน์,ประกันอัคคีภัยเช็คราคาฟรี,ประกันอัคคีภัยออนไลน์,ประกันความรับผิดแพทย์,ประกันขนส่ง,ประกันขนส่งสินค้า,ประกันขนส่งสินค้าออนไลน์
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557
อัตราค่าปรับความผิดเกี่ยวกับรถยนต์
ข้อหาหรือฐานความผิดตามกฎหมายที่ควรทราบ
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538) และการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด นั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ (กรมตำรวจ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 ก.ค. 40 และเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2540 ตามลำดับ
ลำดับ | ข้อหาหรือฐานความผิด |
อัตราโทษ
|
อัตราตามข้อกำหนด
|
---|---|---|---|
1
|
นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสีย สุขภาพอนามัย มาใช้ในทางเดินรถ
| ปรับไม่เกิน 500 บาท | ปรับ 200 บาท |
2
|
นำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาใช้ในทางเดินรถ
| ปรับไม่เกิน 1,000 บาท |
ปรับ 300 บาท
|
3
|
นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่นควัน ละอองเคมี เกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 500 บาท
|
4
|
นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ ในทางเดินรถ
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 500 บาท
|
5
|
ขับ รถในทางไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างในเวลาที่มีแสง สว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถหรือสิ่งกีดขวาง ในทางได้โดยชัดแจ้งภายในระยะ 150 เมตร
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
6
|
ใช้สัญญาณไฟวับวาบผิดเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
7
|
ขับรถบรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถในทางเดิน รถไม่ติดธงสีแดง ไว้ตอนปลายสุดให้มองเห็นได้ภายใน ระยะ 150 เมตร
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
8
|
ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิด หรือ วัตถุอันตรายไม่จัดให้มีป้าย
แสดงถึงวัตถุ ที่บรรทุก |
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
ปรับ 300 บาท
|
9
|
ขับ รถไม่จัดให้มีสิ่งป้องกันมิให้คน สัตว์ หรือสิ่งของที่บรรทุก ตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจาก รถอันอาจก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ ทำให้ทางสกปรกเปรอะเปื้อน ทำให้เสื่อมเสียสุขภาพ อนามัยแก่ประชาชนหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
10
|
ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือทำให้ปรากฏ ในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
11
|
ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
12
|
ไม่หยุดรถหลังเส้น ให้รถหยุดเมื่อมีสัญญาณไฟแดง
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
13
|
ขับรถไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏด้วยมือ
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
14
|
ไม่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด หรือหยุดรถห่างจากพนักงานเจ้าหน้าที่น้อยกว่าสามเมตร
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
15
|
ทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ
|
จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
-
|
16
|
ไม่ขับรถที่มีความเร็วช้าให้ใกล้ขอบทางด้านซ้ายในทางเดินรถที่มีสวนกันได้
|
ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
17
|
ไม่ ขับรถบรรทุกรถบรรทุกคนโดยสารรถจักรยานยนต์ที่มีความเร็วช้าในช่องเดินรถซ้าย สุด ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่สองช่องขึ้นไป
|
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
|
-
|
18
|
เลี้ยวรถหรือเปลี่ยนช่องเดินรถโดยไม่ให้สัญญาณ
|
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
19
|
ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
20
|
ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
|
จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
-
|
21
|
ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
|
ปรับตั้งแต่ 400 – 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
22
|
ขับรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร (เว้นแต่รถเข็น
สำหรับทารก คนป่วย หรือคนพิการ) |
ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
23
|
ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายมือโดยไม่มีเหตุอันสมควร
|
ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
24
|
ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นขณะขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง ซึ่งไม่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้
|
ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
25
|
ขับรถแซงขึ้นหน้ารถอื่นภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก
|
ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
26
|
ขับรถออกจากที่จอดเมื่อมีรถจอดหรือสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าโดยไม่ให้ สัญญาณมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
27
|
กลับรถในทางเดินรถกีดขวางการจราจร
|
ปรับตั้งแต่ 200-500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
28
|
กลับรถในระยะ 100 เมตร จากเชิงสะพาน
|
ปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
29
|
กลับรถที่ทางร่วมทางแยก(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรให้กลับรถได้)
|
ปรับตั้งแต่ 400- 1,000 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
30
|
หยุดรถหรือจอดรถในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรที่อธิบดีกำหนดในทางเดินรถโดยไม่มีอำนาจ
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
31
|
ไม่จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถ
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
32
|
จอดรถไม่ขนานชิดกับขอบทางหรือไหล่ทางในระยะห่างเกินกว่า 25 ซม.
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
33
|
หยุดรถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุผลสมควร
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
34
|
หยุดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคาร หรือทางเดินรถโดยไม่มีเหตุผลสมควร
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
35
|
จอดรถบนทางเท้า
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
36
|
จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
37
|
จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือภายในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
38
|
จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายห้ามจอด
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
39
|
จอดรถภายในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทางและเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
40
|
จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
42
|
ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับ รถ มิให้เคลื่อนย้าย
|
จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือ ปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
-
|
43
|
จอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางโดยไม่เปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างเพียงพอ ที่จะเห็นรถที่จอดนั้นได้ชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร
|
ปรับตั้งแต่ 200 - 500บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
44
|
ขับรถเร็วเกินอัตรากำหนด
|
ปรับตั้งแต่ 200 - 500 บาท
|
ปรับ 400 บาท
|
45
|
ไม่ยอมให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน เมื่อขับรถถึงทางร่วมทาง แยกทีหลัง
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
46
|
ขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือทรัพย์สิน
ของผู้อื่น แล้วไม่หยุดช่วยเหลือแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ใกล้ เคียง ทันที. |
จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 2,000 –10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
-
|
47
|
ขับรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร (เว้นแต่ กรณีจะเกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร)
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ปรับ 300 บาท
|
48
|
ไม่เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทางเมื่อทางนั้น มีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ
|
ปรับไม่เกิน 200 บาท
|
ปรับ 100 บาท
|
49
|
เดินข้ามทางนอกทางข้าม เมื่อมีทางข้ามอยู่ภายในระยะ100 เมตร
|
ปรับไม่เกิน 200 บาท
|
ปรับ 100 บาท
|
50
|
ขี่ จูงไล่ต้อนหรือปล่อยสัตว์ไปบนทาง ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร และไม่มีผู้ควบคุมเพียงพอ
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
51
|
วาง ตั้ง ยื่น หรือ แขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร โดยไม่ได้รับอนุญาต
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
52
|
ขับ ขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยม
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
53
|
โดยสาร รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศรีษะตามประเพณีนิยม
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
54
|
ยินยอมให้ผู้อื่นนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับคนขับเกิน 2 คน
|
ปรับไม่เกิน 500 บาท
|
ปรับ 200 บาท
|
55 | เป็น ผู้ขับรถโดยสารประจำทาง รถบรรทุกคนโดยสารรถโรงเรียน รถแท็กซี่ ยินยอมให้ผู้โดยสารขึ้นหรือลง รถยนต์ในขณะที่รถหยุดเพื่อรอสัญญาณไฟ หรือหยุดเพราะติดการจราจร | ปรับไม่เกิน 500 บาท | ปรับ 200 บาท |
56 | ขับรถตามหลังรถฉุกเฉินซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ในระยะไม่ถึง50 เมตร | ปรับไม่เกิน 1,000 บาท | ปรับ 300 บาท |
57 | กระทำด้วยประการใด ๆ บนทางอันเป็นการกีดขวางของการจราจร | ปรับไม่เกิน 1,000 บาท | ปรับ 300 บาท |
58 | ฝ่าฝืนคำสั่งข้อบังคับหรือระเบียบของเจ้าพนักงานจราจรซึ่งสั่งหรือ ประกาศ ห้าม หยุดหรือ จอด | ปรับไม่เกิน 1,000 บาท | ปรับ 300 บาท |
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม
พ.ร.บ.รถยนต์
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)
ลำดับ | ข้อหาหรือฐานความผิด |
อัตราโทษ
|
---|---|---|
1
|
ใช้รถไม่จดทะเบียน
|
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
|
2
|
ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนด
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
3
|
ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษี
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
4
|
ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
5
|
ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วน
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
6
|
เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
7
|
เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียน
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
8
|
ขับ รถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
9
|
ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถ
|
จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
10
|
ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
11
|
ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันที
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
12
|
ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตน
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
13
|
รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
|
ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
|
14
|
ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถ
|
ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
|
15
|
ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่ง
|
ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
|
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม
พ.ร.บ.ขนส่งทางบก
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)
ลำดับ | ข้อหาหรือฐานความผิด |
อัตราโทษ
|
---|---|---|
1
|
ประกอบการขนส่งประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
2
|
ประกอบการขนส่งไม่ประจำทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
3
|
ประกอบการขนส่งด้วยรถขนาดเล็กโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
4
|
ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต
|
จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
5
|
เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภท
|
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
|
6
|
เป็น ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจำนวนรถที่ต้องการใช้ใน การประกอบการขนส่ง ตามเส้นทางที่ใช้ในการประกอบ การขนส่ง
|
ปรับตามจำนวนรถที่ขาด คันละไม่เกิน 5,000 บาทต่อหนึ่งวันจนกว่าปฏิบัติให้ถูกต้อง
|
7
|
เป็น ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ลักษณะ ชนิดขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำ รถทุกคัน
|
ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
|
8
|
เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่ง
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โพสต์แนะนำ
ประกันภัยรถบิ๊กไบค์ ประกันภัยBigBike ประกันมอเตอร์ไซต์ทั่วไป
ประกันรถมอเตอร์ไซต์บิ๊กไบค์ BigBike เอาใจขาซิ่ง Big Bike ! สิ่งที่เราสัญญากับคุณ ง่ายและรวดเร็ว ราคาที่คุ้มค่า ประหยัดเ...
- หน้าแรก
- ประกันภัยรถยนต์
- พ.ร.บ.รถยนต์/รถจักรยานยนต์
- ประกันสุขภาพ
- ประกันอุบัติเหตุ
- ประกันบ้าน อัคคีภัยที่อยู่อาศัย
- ประกันธุรกิจ อัคคีภัยธุรกิจ
- ประกันเดินทางต่างประเทศ
- ประกันมะเร็ง โรคร้ายแรง
- ประกันความรับผิดของผู้ขนส่ง
- ประกันความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
- ประกัน 3+ มอเตอร์ไซค์
- ประกันรถมอเตอร์ไซต์หาย
- ประกันอัคคีภัยหอพัก อพาร์ทเม้นท์ เกสท์เฮาส์ แมนชั่น โรงแรม